เราได้จัดทำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวมรักษาการใช้งาน และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านมอบให้เราผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายนี้เมื่อใช้บริการของลีเรคโกย่อมแสดงว่าคุณยินยอมที่จะให้เราใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถตรวจสอบสถานะการใช้งานของคุกกี้หรือปฏิเสธการใช้งานของคุกกี้ในเบราส์เซอร์ของท่านได้ ข้อกำหนดการใช้งานและนโยบายความเป็นส่วนตัว

ปิดหน้านี้


ปิดหน้านี้

Error


ระบบกำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่


หมวดหมู่
ดูทั้งหมด
ค้นหาจากผลลัพท์ที่ได้
Promotion
search.totalHits > 0 = true user.userSettings.cmsSettings.facetEnable = true search.displayFacetBlock = true search.facets empty = false search.facets size = 5
ความเข้มของการส่องสว่าง
ดูทั้งหมด
ประเภทหลอดไฟ
พลังงาน
ดูทั้งหมด
ฟิตติ้ง
ยี่ห้อ
   

แบรนด์สินค้าแนะนำ

       

ข่าวประชาสัมพันธ์

Lyreco Newsroom
ติดตามข้อมูลข่าวสารล่าสุดและสาระดีๆ จากลีเรคโก

คลิกที่นี่

ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยการเลือกการจัดส่งรูปแบบใหม่ "ให้ลีเรคโกเลือกวันจัดส่ง"

คลิกดูเพิ่มเติม

หลอดไฟ

  ( 28  สินค้า )

หลอดไฟ

ถ้าจะพูดถึงแหล่งที่มาของแสงสว่างที่เราใช้กันอยู่ ทุกคนคงทราบดี ว่าแหล่งที่มานั้นคือ หลอดไฟ แต่คุณรู้หรือไม่ว่าหลอดไฟที่เราใช้กันอยู่นั้นมีกี่ชนิด ทำมาจากอะไร ให้แสงสว่างแบบไหน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักหลอดไฟประเภทต่างๆกัน

  1. หลอด Incandescent หรือที่เรียกกันว่า หลอดไส้

หลอดไส้ปกติ ภายในหลอดเป็น ไส้ที่ทำจากทังสเตน ให้ความร้อนสูง แต่ประสิทธิภาพในการส่องสว่างต่ำ อีกแบบคือหลอดไส้ฮาโลเจน ไส้หลอดทาด้วยทังสเตน แต่บรรจุสารตระกูลฮาโลเจน เพื่อป้องกันการระเหิดตัวของไส้หลอด มีประสิทธิภาพดีกว่าหลอดไส้ปกติ 2-3 เท่า ให้ความถูกต้องของสีถึง 100 % หลอดประเภทนี้มักใช้กับพื้นที่ที่ต้องการแสงสว่างเป็นพิเศษ เช่น พื้นที่งานแสดงสินค้า อุปกรณ์ทางการแพทย์บางชนิด เครื่องฉายสไลด์ เป็นต้น ข้อดี ราคาถูกที่สุด ให้แสงสว่างทันทีเมื่อเปิดใช้งาน

  1. หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent) หรือที่เรียกกันว่า หลอดนิออน หลอดประกอบไปด้วย

ตัวหลอด ไส้หลอด สตาร์ตเตอร์ บัลลัสต์ ประสิทธิภาพการให้แสงสว่างของหลอดชนิดนี้อยู่ในระดับปานกลาง ข้อดี ให้ห้ระดับแสงสว่างมากและใช้กำลังไฟน้อยกว่า อายุการใช้งานนานกว่าหลอดไส้ 10-13 เท่า แถมยังให้ความร้อนน้อย แต่เมื่อหลอดเสื่อมหรือใกล้เสื่อม แสงที่ได้จะไม่สม่ำเสมอและกะพริบยิ่งไปกว่านั้นมีราคาแพงกว่าหลอดไส้ประมาณ 3 - 5 เท่า ข้อเสียอีกอย่างคือ ต้องใช้ร่วมกับบัลลาสต์และสตาร์ตเตอร์ นอกจากนั้นยังมี หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ (CFL) หรือ หลอดตะเกียบ  หลอดประเภทนี้ยังถูกแบ่งออกเป็นหลายๆ ชนิดตามลักษณะการใช้งาน มีทั้งแบบขั้วเกลียวและขั้วเสียบ มีบัลลาสต์ภายนอกหรือในตัว เป็นต้น

  1. หลอดเมทัลฮาไลด์ หลอดโซเดียม หลอดแสงจันทร์

หลอดไฟประเภทนี้ กินไฟมาก อุณหภูมิของหลอดสูง แต่ให้แสงขาวที่มีความเข้มสูงและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน นิยมติดตั้งในบริเวณขนาดใหญ่ที่ต้องการการส่องสว่างต่อเนื่อง เช่น ตามท้องถนน โรงงานอุตสาหกรรม สนามกีฬา

  1. หลอดแอลอีดี (LED : Light Emitting Diode)

เป็นเทคโนโลยีของการส่องสว่างแบบใหม่ที่ทนทาน ให้ความสว่างสูงกินไฟน้อย เกิดความร้อนต่ำ ไม่มีการใช้สารพิษอย่างสารปรอท หรือสารตะกั่วเป็นส่วนประกอบ อีกทั้งยังไม่มีรังสี UV ที่เป็นอันตรายต่อผิวหนังและดวงตา มีการระบายความร้อนได้ดี จึงทำให้เกิดความร้อนของหลอดน้อย และส่งผลให้มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน ปัจจุบันมีใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของ  โรงงานอุตสาหกรรม โกดังคลังสินค้า หน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน หรือแม้แต่ตามอาคารบ้านเรือนเองก็นิยมใช้หลอดไฟแอลอีดีกันมากขึ้น ด้วยเหตุผลที่ว่าหลอดไฟแอลอีดี สามารถช่วยประหยัดพลังงานและประหยัดค่าไฟได้มากถึง 80% อีกทั้งยังมีประสิทธิภาพในเรื่องของความสว่างที่มากกว่าอีกด้วย

ปัจจัยในการพิจารณาในการเลือกซื้อหลอดไฟ

  • จำนวนวัตต์(Watt, W) หรือกำลังไฟฟ้าที่ใช้ คือ หน่วยวัดกำลังไฟฟ้าที่เป็นตัวบอกอัตราการกินไฟของหลอดไฟ ยิ่งวัตต์มากเท่าไหร่ก็ยิ่งให้แสงที่สว่างมากเท่านั้น
  • ขั้วของหลอดไฟ คือ ส่วนที่เป็นโลหะสีเงินด้านล่างหลอด มีหลายแบบและหลายขนาด ขึ้นอยู่กับประเภทของหลอดไฟ แบ่งเป็น
    • ขั้วหลอดแบบเกลียว ซึ่งหลักๆแล้วมีด้วยกัน 3 แบบ ได้แก่ ขั้ว E14 ซึ่งมีขนาดเล็กที่สุดถ้าเทียบกับหลอดทั้ง 3 แบบ ขั้ว E27 เป็นแบบที่นิยมใช้กันมากที่สุด เช่น ใช้กับหลอดประหยัดไฟ หลอดทรงน้ำเต้า เป็นต้น และขั้ว E40 นิยมใช้กับหลอดไฟที่มีกำลังวัตต์สูงกว่า 40 W ขึ้นไป
    • ขั้วหลอดแบบเสียบหรือแบบขาเขี้ยว ที่นิยมใช้กันมากที่สุด คือ แบบขั้ว G13 คือขั้วหลอดไฟนิออนนั่นเอง นิยมใช้กับหลอดไฟนิออนหรือ หลอดไฟแอลอีดี T8 แบบขั้ว GU 10 หรือเรียกอีกชื่อนึงว่า ขั้วขาสตาร์ทเตอร์/ GU5.3 นิยมนำมาใช้กับหลอดฮาโลเจนแบบถ้วย และ ฮาโลเจนแบบแคปซูล
  • หลอดขาวขุ่นหรือหลอดใส โดยผิวเคลือบของหลอดที่ต่างกันก็จะให้แสงที่ต่างกัน แบ่งเป็น

– หลอดใส เหมาะใช้กับโคมไฟที่ออกแบบตัวโคมให้สร้างลวดลาย ที่ต้องการการกระจายแสงมาก

– หลอดขาวขุ่น เหมาะใช้กับพื้นที่ให้แสงแบบไม่ต้องมีตัวโคม ที่ต้องการการกระจายแสงแบบสม่ำเสมอ

  • รูปทรงของหลอดไฟมีหลากหลายรูปแบบ เพราะมีองศาการกระจายแสงที่แตกต่างกัน และควรเลือกรูปทรงที่มีขนาดพอดี ไม่เกินขนาดของหลอดไฟที่เราจะนำมาใช้ทดแทน เพื่อสามารถใส่ในโคมไฟได้อย่างปลอดภัย โดยรูปร่างของหลอดไฟแบ่งเป็น

– หลอดจำปา ให้แสงคล้ายแสงเทียน เหมาะสำหรับโคมไฟประดับที่ต้องการเพียงแสงสลัวๆ

– หลอดทรงกลม ให้แสงสว่างองศากว้าง เหมาะสำหรับโคมไฟ หรือโป๊ะไฟ

– หลอดทรงยาว ให้แสงคล้ายหลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดนีออน เหมาะสำหรับให้แสงสว่างทั่วไป

  • ลักษณะสีของแสงก่อนที่เราจะเลือกหลอดไฟไปติดตั้งในห้องสักห้องนั้น อย่างแรกเลยเราต้องรู้ฟังก์ชั่นการใช้งานในห้องนั้นๆเสียก่อน เพราะสีไฟที่ต่างกันก็เหมาะกับการใช้งานที่ต่างกัน โดยแสงของหลอดไฟแบ่งเป็น 3 แบบ คือ

 - สีวอร์มไวท์ (Warm White) โทนสีเหลืองอมส้ม เป็นโทนสีร้อน โทนอบอุ่น ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ ต่ำกว่า 3,000 เคลวิน ช่วยทำให้มีความรู้สึกอบอุ่นผ่อนคลาย นิยมนำไปใช้ในสถานที่ให้บริการต่างๆ เช่น โรงแรม ร้านอาหาร หรือใช้ในบ้าน เช่น ห้องรับแขก ห้องนอน ห้องน้ำ เป็นต้น      

– สีคูลไวท์ (Cool White) โทนสีขาว เป็นโทนสีเย็นสบายตา ค่อนข้างสว่างกว่าเมื่อเทียบกับสีวอร์มไวท์ (Warm white) ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 3,000-4,500 เคลวิน ช่วยทำให้สีจากวัตถุดูคมชัดและเข้มขึ้น นิยมนำไปใช้กับงานแสดงโชว์สินค้า ป้ายต่างๆ หรือใช้กับไฟบนเวที เป็นต้น

– สีเดย์ไลท์ (Day Light) โทนสีขาวอมฟ้า คล้ายแสงธรรมชาติตอนกลางวัน ค่าอุณหภูมิสีของแสงอยู่ที่ 4,500-6,500 เคลวิน ขึ้นไป เป็นสีที่ดูเป็นธรรมชาติมากที่สุด ทำให้มองเห็นสีวัตถุไม่เพี้ยน นิยมใช้กันทั่วไป เช่น โรงงานอุตสาหกรรม บ้านเรือน เป็นต้น

  • มาตรฐานของหลอดไฟหลอดไฟที่ดี ต้องมีการรับรอง มาตรฐานทางผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มอก. ที่บริเวณฉลากหรือตัวสินค้า เพื่อเป็นการการันตีว่าสินค้านั้นๆได้รับการตรวจสอบมาตรฐานในการผลิต และปลอดภัยต่อการใช้งาน

ท่านได้ลงทะเบียนแจ้งรับการเตือนเมื่อมีสินค้าในสต๊อก

ต้องการความช่วยเหลือ?

ลูกค้าสัมพันธ์ 02 338 0200 ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.
พูดคุยกับเราผ่าน Webchat ตั้งแต่ 08.00-18.00 น

ติดต่อเราผ่านแบบฟอร์มออนไลน์
ลีเรคโกอยู่เคียงข้างคุณเสมอ เพื่อให้ทุกเรื่องในที่ทำงานเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

คู่ค้าของเรา