เราได้จัดทำประกาศนโยบายความเป็นส่วนตัวนี้ขึ้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบว่า เราใช้คุกกี้เพื่อเก็บรวบรวมรักษาการใช้งาน และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านมอบให้เราผ่านทางเว็บไซต์ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายนี้เมื่อใช้บริการของลีเรคโกย่อมแสดงว่าคุณยินยอมที่จะให้เราใช้ข้อมูลส่วนบุคคล และท่านสามารถตรวจสอบสถานะการใช้งานของคุกกี้หรือปฏิเสธการใช้งานของคุกกี้ในเบราส์เซอร์ของท่านได้ ข้อกำหนดการใช้งานและนโยบายความเป็นส่วนตัว

ปิดหน้านี้


ปิดหน้านี้

Error


ระบบกำลังประมวลผล กรุณารอสักครู่


หมวดหมู่
ดูทั้งหมด
ค้นหาจากผลลัพท์ที่ได้
Promotion
ข้อเสนอของเรา
search.totalHits > 0 = true user.userSettings.cmsSettings.facetEnable = true search.displayFacetBlock = true search.facets empty = false search.facets size = 4
ยี่ห้อ
ดูทั้งหมด
รูปทรง
บรรจุแบบแยกชิ้น
วาล์วระบายอากาศ
   

แบรนด์สินค้าแนะนำ

       

ข่าวประชาสัมพันธ์

Lyreco Newsroom
ติดตามข้อมูลข่าวสารล่าสุดและสาระดีๆ จากลีเรคโก

คลิกที่นี่

ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ด้วยการเลือกการจัดส่งรูปแบบใหม่ "ให้ลีเรคโกเลือกวันจัดส่ง"

คลิกดูเพิ่มเติม

หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้ง

  ( 46  สินค้า )

อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ (แบบใช้แล้วทิ้ง)

ทุกวันนี้ก่อนออกจากบ้านทุกครั้ง ของสำคัญที่จะลืมไม่ได้เลยคือ แมส หรือหน้ากากอนามัย นั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นหน้ากากผ้า หน้ากากฟองน้ำ หน้ากากคาร์บอน หรือหน้ากากทางการแพทย์ แน่นอนว่าเราใส่หน้ากากเพื่อเพื่อปกป้องตัวเราเองหรือผู้อื่นจากฝุ่นละออง เชื้อโรค หรือกลิ่นควันต่างๆ โดยเฉพาะในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิดเช่นนี้ ทุกคนหันมาให้ความสำคัญกับการใส่และการเลือกซื้อหน้ากากเป็นอย่างมาก คุณสมบัติการปกป้องด้านต่างๆถูกนำมาพิจรณาอย่างถี่ถ้วนก่อนที่จะซื้อหน้ากากมาใช้ รวมถึงความคุ้มค่าคุ้มราคาของหน้ากากแต่ละชนิดด้วย หลายคนเลือกใช้หน้าแบบที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ เช่นหน้ากากผ้า เพื่อความประหยัด แต่บางครั้งในเรื่องของคุณสมบัติปกป้องบางอย่างที่หาไม่ได้ในหน้ากากผ้า ก็จำเป็นที่จะต้องเลือกใช้หน้ากากแบบใช้แล้วทิ้งหรือหน้ากากกรองอนุภาคเพื่อการปกป้องที่ดียิ่งขึ้น เราจะมาทำความรู้จักหน้ากากแบบใช้แล้วทิ้งประเภทต่างๆกันว่า  ทำมาจากอะไร หรือมีคุณสมบัติการปกป้องอะไรที่เราต้องพิจารณาบ้าง

แบ่งเป็น หน้ากากอนามัย (Mask) และ หน้ากากกรองอนุภาค (Respirator)

  1. หน้ากากอนามัย ที่เราเห็นโดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หน้ากากอนามัยทั่วไป และหน้ากากอนามัยคาร์บอน
  • หน้ากากทางการแพทย์ (Surgical mask)
    โดยส่วนมากหน้ากากอนามัยประเภทนี้จะมีอย่างต่ำ 3 ชั้น ชั้นนอกสุดจะถูกเคลือบด้วยสารที่สามารถป้องกันการซึมผ่านของของเหลวได้ ซึ่งสารเคลือบนี้สามารถละลายออกมาหากมีการซักล้างด้วยสบู่ หรือเช็ดถูทําความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ ชั้นตรงกลางจะมีชั้นแผ่นกรองอยู่ วัสดุที่ใช้ผลิตหน้ากากเกิดจากการหลอมเม็ดพลาสติก ที่ใช้ส่วนใหญ่ได้แก่พอลีโพรพิลีน (Polypropylene) โดยไม่ผ่านการทอ ขึ้นรูปจากเส้นใยพลาสติกจนเกิดเป็นแผ่นกรองที่สามารถปรับขนาดความหนาแน่นได้ โดยปกติจะมีความหนาแน่น 20-25 กรัมต่อตารางเมตร (g/m2) พลาสติกพอลีโพรพิลีน ทําให้เกิดแผ่นกรองที่ได้มีคุณสมบัติอ่อนนุ่มคล้ายผ้า ทําให้สวมใส่สบาย มีความสะอาดสูง และสามารถกรองอนุภาคขนาดใหญ่กว่า 3 ไมครอนขึ้นไปได้ 95%

ตามมาตรฐานสากลของสถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา (NIOSH)

 

จะแบ่งเป็นหน้ากาก Surgical mask เป็น 3 ระดับตามสมรรถนะในการป้องกนัการกรอง และการซึมผ่านของของเหลว

  1. ค่า Particulate Filtration Efficiency (PFE) คือค่าที่แสดงความสามารถในการกรองอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 0.1 ไมครอน ซึ่งเชื้อไวรัสโควิดมีอนุภาคทรงกลมขนาด 0.06 – 0.14 ไมครอน ยิ่งหน้ากากอนามัยมีค่า PFE สูงเท่าไหร่ก็จะยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในป้องกันการรับเชื้อและลดการแพร่กระจายได้เท่านั้น รวมถึงปัญหาเรื่องฝุ่นละออง PM 2.5 ได้อีกด้วย
  2. ค่า Viral Filtration Efficiency (VFE) ค่าประสิทธิภาพการกรองอนุภาคของเชื้อไวรัส หรือสารคัดหลั่ง ขนาด 3-0.3 ไมครอนได้ไม่น้อยกว่า 98% เพื่อลดปัญหาการกระจายละอองฝอยจากสารคัดหลั่ง และฝุ่นละออง PM 2.5
  3. ค่า Bacterial Filtration Efficiency (BFE) ค่าประสิทธิภาพในการกรองแบคทีเรียที่มีขนาด 3 ไมครอนได้ไม่น้อยกว่า 98% จะช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อแบคทีเรียสามารถแทรกซึมเข้าถึงใบหน้า
  4. ความสามารถในการป้องกันการซึมผ่านของเลือด (Fluid Resistance, FR) เทียมที่ความดัน 80 (ความดันหลอดเลือดดํา), 120 (ความดันหลอดเลือดแดง) และ 160 (ความดันเลือดเมื่อมีการบาดเจ็บ และระหว่างผ่าตัด) mmHg
  5. ค่า Delta P หรือ Differential Pressure เป็นค่าชี้วัดความสะดวกในการหายใจ ซึ่งหากมีค่าน้อยกว่า 4 mm H2O / cm2 จะช่วยทำให้ผู้สวมใส่หน้ากากหายใจโปร่งสบายยิ่งขึ้น
  6. ได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล

มาตรฐานการทดสอบการป้องกันของเหลวซึมผ่าน ไม่ว่าจะจากประเทศไทย มอก.2424-2562, ASTM F2100 จากสหรัฐอเมริกา, YY 0469 – 2011, YY/T 0691-2008, YY/T 0969 – 2013  จากจีน, จากญี่ปุ่น, AS4381 จากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ รวมไปถึง EN 14683:2014 และ ISO 22609 ที่มาตรฐานของสหภาพยุโรป จะเป็นการบ่งบอกประสิทธิภาพที่สามารถป้องกันสารคัดหลั่งจากน้ำมูก น้ำลาย และละอองเชื้อต่าง ๆ

อย่างไรก็ตาม หากหน้ากากอนามัยที่ไม่ได้ระบุค่าประสิทธิภาพต่างๆ แต่ได้รับการอนุญาตจาก อย. ยังคงมีคุณสมบัติในการป้องกันการแพร่เชื้อไวรัสที่มาพร้อมละอองต่าง ๆ จากสารคัดหลั่งได้

  • หน้ากากอนามัยแบบทั่วไป มีทั้งหน้ากากที่มีลักษณะเดียวกับหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ หรือหน้ากากในรูปแบบสามมิติ (3D) มีความหนาทั้งแบบ 2 ชั้น (2-ply) และ 3 ชั้น (3-ply) มีคุณสมบัติการป้องกันฝุ่นละอองหรือเชื้อโรคได้ในระดับหนึ่ง แต่อาจไม่มีการรับรองมาตรฐานอย่างเป็นทางการ เหมือนหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ตามลักษณะการใช้งานที่ต้องการ บางครั้งเป็นหน้ากากที่มีการนำเข้ามาขายจากต่างประเทศ เช่น หน้ากากอนามัยจากประเทศญี่ปุ่น หรือ ประเทศเกาหลีที่เป็นที่นิยมอยู่ในขณะนี้ การเลือกซื้อเลือกใช้จึงควรพิจารณาตามจุดประสงค์การใช้งานที่แท้จริง

 

  • หน้ากาอนามัยคาร์บอน เป็นหน้ากากอนามัยที่มี 4 ชั้น ลักษณะภายนอก คือ ด้านหนึ่งเป็นสีดำจากคาร์บอน ส่วนอีกด้านหนึ่งเป็นสีขาว หน้ากากอนามัยแบบนี้มีแผ่นกรองเชื้อแบคทีเรียเช่นเดียวกับหน้ากากอนามัยแบบ 3 ชั้น แต่สิ่งที่พิเศษกว่า คือ มี Activated Carbon ที่ช่วยป้องกันกลิ่นจากสารเคมี อย่างทินเนอร์ น้ำมัน และกาวได้

 

  1. หน้ากากกรองอนุภาค (Respirator)

สําหรับผู้ที่ต้องดูแล เฝ้าระวังและบุคคลากรทางการแพทย์ที่จําเป็นต้องอยู่ในสถานที่ ที่แวดล้อมด้วยผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วย การป้องการทางเดินหายใจจากอากาศภายนอกหน้ากากจึงเป็นสิ่งจําเป็น ซึ่งสามารถทําได้ด้วยการใช้ หน้ากากกรองอนุภาค หรือที่ทุกคนคุ้นเคยกัน เช่น หน้ากาก N95 ซึ่งจะให้การปกป้องและประสิทธภาพในการกรองที่ดีกว่า หน้ากากทางการแพทย์ และขณะสวมใส่หน้ากากจะแนบสนิทกับใบหน้าทําให้อากาศที่ผ่านเข้ามาจากภายนอกผ่านการกรองทั้งหมด  หน้ากากกรองอนุภาคจะต้องมีการตรวจสอบความพอดีกับใบหน้า ทุกครั้งจึงจะทําให้มีประสิทธิภาพในการป้องกันสูง

หน้ากากกรองอนุภาค ส่วนมากผลิตจากเม็ดพลาสติกประเภทพอลีโพรพิลีน โดยวิธีไม่ผ่านการทอ ในลักษณะคล้ายกับวัสดุที่ใช้ผลิตหน้ากากทางการแพทย์ แต่เส้นใยจะมีขนาดเส้นเล็กในระดับนาโนเมตร เส้นใยไม่เป็นเส้นยาวต่อเนื่อง และมีความแข็งแรงน้อยกว่า ดังนั้นจึงใช้ประกอบร่วมกันกับผ้าใยสังเคราะห์ที่ไม่ผ่านการถักทอ ผ้าสปันบอนด์ (Spunbond nonwovens)  เพื่อให้หน้ากากมีความแข็งแรง ด้านนอกสุด (ด้านที่สัมผัสกับอากาศ) มีความหนาแน่น 20-50 g/m2 ตรงกลางเป็นชั้นกรองที่มีความหนาแน่นสูงถึง 250 g/m2 จากชั้นนี้ จะเป็น ผ้าใยสังเคราะห์ที่ไม่ผ่านการถักทอ ที่ละเอียดขึ้นอีก ที่เรียกว่า ผ้าเมลต์โบลวน์ (Meltblown nonwovens) ซึ่งทําหน้าที่ เป็นแผ่นกรองโดยอาศัยหลักการกรอง และหลักการดักจับอนุภาคด้วยประจุไฟฟ้า และด้านในสุดเป็นชั้น ผ้าสปันบอนด์ เพื่อให้ความ สบายในการสวมใส่ โดยทําการเชื่อมต่อชั้นต่างๆ เข้าด้วยกันด้วยอัลตร้าโซนิค

ตามมาตรฐานสากลของสถาบันอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศสหรัฐอเมริกา (NIOSH)

  1. ตัวอักษร N แสดงถึงประเภทของหน้ากากกรองอนุภาคที่สามารกรองอนุภาคและละอองฝอย ที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำมัน ( Not resistant to oil-based particulates)
  2. ตัวอักษร R แสดงถึงประเภทของหน้ากากกรองอนุภาคที่สามารกรองอนุภาคและละอองฝอยที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน (Resistant to oil-based particulates)
  3. ตัวอักษร P แสดงถึงประเภทของหน้ากากกรองอนุภาคที่สามารกรองอนภุาคและละออง ฝอยที่มีส่วนประกอบของน้ำมัน (Strongly resistant to oil-based particulates) ซึ่งใช้ได้ นานกว่า R

ประสิทธิภาพในการกรองอนุภาคได้จะจัดอันดับเป็น 95, 99 และ 100% ตามลําดับ เช่นหน้ากาก  N95, N99 และ N100 ซึ่งสามารถเทียบเคียงกับมาตรฐานมาตรฐานยุโรป (European Standard, EN 149) FFP1 (80%), FFP2 (94%), FFP3 (99%) และ มาตรฐานออสเตรเลีย/นิวซีแลนด์ (Australia/New Zealand Standard, AS/NZS 1761) P1 (80%), P2 (94%), P3 (99%) ตามลําดับ

นอกจากนี้ หน้ากากกรองอนุภาค ยังมีอีก 1 ชนิด คือ ชนิดมีวาล์ว หรือลิ้นระบายอากาศ เพื่อลดความอึดอัดขณะส่วมใส่

การสวมหน้ากากอนามัย กับโคโรน่าไวรัส (โควิด 19 - COVID-19 )

หากจะพูดถึงการสวมใส่หน้ากากอนามัยในช่วงที่มีการระบาดของเชื้อไวรัส เช่น โคโรน่าไวรัส หรือ โควิด 19 ในช่วงนี้ แน่นอนว่าไม่มีหน้ากากอนามัยไหนที่ปกป้องการติดเชื้อได้ 100% แต่การสวมใส่แมสสามารถลดการกระจายของละอองฝอยจากการไอจามได้ จึงเป็นการลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคได้เช่นกัน ในกรณีสวมใส่เพื่อป้องกันตัวเองจากการติดเชื้อ ในชีวิตประจำวันทั่วไป สามารถเลือกแมสได้หลากหลายตามความต้องการ หน้ากากผ้า หน้ากกาอนามัยทั่วไป หน้ากากคาร์บอน หรือหากเลือกใช้หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ควรเลือกที่ได้รับมาตรฐานรับรองที่ระบุค่า

                                                PFE = PARTICULATE FILTRATION EFFICIENCY​

ดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น จะสามารถป้องกันเชื้อไวรัสโควิดได้ เนื่องจากไวรัส COVID-19 มีขนาด 0.12 ไมครอน พร้อมกับการเว้นระยะห่างและ ล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์อยู่เสมอ อีกทั้งมีการแนะนำจากกระทรวงสาธารณะสุขให้มีการสวมใส่แมส 2 ชั้น ชั้นใน (ชั้นที่ชิดกับใบหน้า) สวมใส่เป็นหน้าการอนามัยและสวมทับด้วยหน้ากากผ้า เพื่อเพิ่มความกระชับให้การสวมใส่แมส สำหรับผู้ที่ต้องทำงานหรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ ควรเลือกสวมใส่หน้ากากอนามัยทางการแพทย์หรือหน้ากากกรองอนุภาคเท่านั้น เช่นกันกับผู้ที่ติดเชื้อ ต้องส่วมหน้ากากอนามัยทางการแพทย์หรือหน้ากากกรองอนุภาคเท่านั้น แต่ต้องไม่ใช้หน้ากากชนิดมีวาล์ว เนื่องจากหน้ากากชนิดมีวาล์ว ในขณะที่ผู้สวมใส่หายใจออก อาจมีการแพร่กระจายของเชื้อออกมาทางวาล์วได้

ท่านได้ลงทะเบียนแจ้งรับการเตือนเมื่อมีสินค้าในสต๊อก

product
สินค้าขายดี

MEDIMASK หน้ากากอนามัย ASTM 3 ชั้น สีขาว แพ็ค 50

รหัสสินค้า: 9.094.377
product
สินค้าขายดี

3M หน้ากากอนามัย 3 ชั้น สีเขียว แพ็ค 50 ชิ้น

รหัสสินค้า: 14.783.965
125.00 THB ชิ้น
product
สินค้าขายดี

ผ้าปิดจมูกซับในคาร์บอน สีเขียว

รหัสสินค้า: 8.153.739
product
สินค้าขายดี

หน้ากากอนามัยคาร์บอน 4 ชั้น แพ็ค 50 ชิ้น

รหัสสินค้า: 9.094.399
190.00 THB ชิ้น
product
สินค้าขายดี

MEDIMASK หน้ากากอนามัย 3 ชั้น ฟ้า แพ็ค 50

รหัสสินค้า: 9.094.388
product
สินค้าขายดี

YAMADA หน้ากากอนามัย พร้อมคาร์บอน 3040-5 แพ็ค 5

รหัสสินค้า: 9.379.873
product
สินค้าขายดี

3M หน้ากากคาร์บอน รุ่น 9542V สายคาดหัว P2

รหัสสินค้า: 13.405.096

ต้องการความช่วยเหลือ?

ลูกค้าสัมพันธ์ 02 338 0200 ตั้งแต่ 08.00-17.00 น.
พูดคุยกับเราผ่าน Webchat ตั้งแต่ 08.00-18.00 น

ติดต่อเราผ่านแบบฟอร์มออนไลน์
ลีเรคโกอยู่เคียงข้างคุณเสมอ เพื่อให้ทุกเรื่องในที่ทำงานเป็นเรื่องง่ายสำหรับคุณ

คู่ค้าของเรา