อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล(Personal Protection Equipment หรือ PPE)
หมายถึง อุปกรณ์ที่สวมใส่ปกคลุมส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากสภาพและสิ่งแวดล้อมในขณะปฏิบัติงาน โดยทั่วไปในการทำงานจะยึดหลักการป้องกันและควบคุมสภาพแวดล้อมของการทำงานก่อน โดยการแก้ไขปรับปรุงทางวิศวกรรม เช่น การปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เปลี่ยนวิธีการทำงาน เป็นต้น แต่ในกรณีที่ไม่สามารถดำเนินการได้ จะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลมาใช้ประกอบด้วย ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายวิธีการป้องกันอวัยวะของร่างกายไม่ให้เกิดอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติติงาน เช่น เสียงดัง แสง สารเคมี ความร้อน การตกจากที่สูง วัสดุกระเด็นเข้าตา วัสดุหล่นกระแทก หรือทับ เป็นต้น อุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลมีหลายชนิด ซึ่งจะขึ้นอยู่กับประเภทของงานและความเสี่ยงที่คาดว่าจะเกิดกับผู้ปฏิบัติงาน
ประเภทของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล
- อุปกรณ์ป้องกันดวงตา – ใช้สำหรับป้องกันดวงตาจากการกระแทกกับของแข็ง ป้องกันสารเคมี ป้องกันรังสีหรือวัตถุกระเด็นเข้าตาจนได้รับอันตรายในขณะปฏิบัติงาน ได้แก่ แว่นตานิรภัย แว่นครอบตา
- อุปกรณ์ป้องกันการได้ยิน – ใช้สำหรับป้องกันเสียงจากการทำงานในพื้นที่ที่มีเสียงดังเกินกว่าที่หูคนเราจะสามารถรับได้ คือมีระดับเสียงสูงเกินกว่า 85 เดซิเบล (เอ) โดยหากระดับเสียงในขณะทำงานสูงเกินกว่า 130 เดซิเบล (เอ) ถือว่าเป็นตรายต่อการได้ยินของหู ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันหูที่สำคัญและเหมาะสมกับการใช้งาน ได้แก่ ปลั๊กอุดหูและที่ครอบหูลดเสียง เหมาะสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมผลิตบรรจุภัณฑ์ งานก่อสร้าง เป็นต้น
- อุปกรณ์ป้องกันศรีษะและใบหน้า –ใช้สำหรับป้องกันศรีษะและใบหน้าที่อาจะเกิดจากการถูกกระแทก หรือวัตถุจากที่สูงตกลงมากระทบศีรษะ และป้องกันตรายจากไฟฟ้าและสารเคมีเหลว ซึ่งอุปกรณ์ป้องกันศรีษะและใบหน้าที่สำคัญ คือ หมวกนิรภัย กระบังป้องกันหน้า และที่ครอบศรีษะ
- อุปกรณ์ป้องกันระบบทางเดินหายใจ – ใช้สำหรับป้องกันอันตรายจากมลพิษเข้าสู่ร่างกายโดยผ่านทางปอด ซึ่งเกิดจากการหายใจเอามลพิษ เช่น อนุภาคก๊าซ และไอระเหยที่ปนเปื้อนอยู่ในอากาศ หรือเกิดจากปริมาณออกซิเจนในอาการไม่เพียงพอ
- อุปกรณ์ป้องกันมือและแขน – ใช้สำหรับป้องกันมือจากการสัมผัสกับสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์ หรือสารเคมีที่อาจทำให้เกิดอันตายร้ายแรงได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีอุปกรณ์ป้องกันมือชนิดต่างๆ ซึ่งต้องเลือกถุงมือหรือเครื่องสวมเฉพาะนิ้วชนิดต่าง ๆให้เหมาะสมกับลักษณะของงาน
- อุปกรณ์ป้องกันร่างกาย – ใช้สำหรับป้องกันส่วนต่างๆ ของร่างกาย กรณีเข้าไปปฏิบัติงานเขตพื้นที่ที่เป็นกรด มีการสวมใส่โดยแบ่งระดับของความรุนแรงของสารเคมีเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักบริหารการป้องสิ่งแวดล้อมแห่งชาติสหรัฐอเมริกาโดยมีรับความรุนแรงตั้งแต่ระดับ A B C และ D
- อุปกรณ์ป้องกันเท้า – ใช้สำหรับป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการกระแทก หรือวัตถุหรือสารเคมีหกใส่เท้า รวมถึงป้องกันการสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าจากการปฏิบัติงาน โดยหัวรองเท้าจะมีทั้งแบบโลหะ และหัวพลาสติกที่มีความทนทานสูง พื้นรองเท้าบางรุ่นมีแผ่นเหล็กด้วย เพื่อป้องกันของมีคมที่อาจแทงทะลุผ่านพื้นรองเท้า นอกจากนี้รองเท้ายังป้องกันน้ำมัน ไฟฟ้า และ กรด-ด่าง ได้อีกด้วย
- อุปกรณ์กันตก – อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง การทำงานในที่สูง เช่น งานก่อสร้าง งานทำความสะอาด งานไฟฟ้า จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันการตกจากที่สูง ได้แก่ เข็มขัดนิรภัย สายรัดตัวนิรภัย และเชือกกันตก
อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลถือเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งในการปฏิบัติงาน เนื่องจากในขณะปฏิบัติงานอันตรายต่างๆมีโอกาสเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ซึ่งอาจทำให้ตัวท่านเกิดการบาดเจ็บ พิการ หรือเสียชีวิตได้ ดังนั้นอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรสวมใส่อยู่เสมอเพื่อให้การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยความปลอดภัยสูงสุด